การเลือกใช้ศูนย์คอมพิวเตอร์สำรองระหว่าง Disaster Recovery หรือ Disaster Recovery as a Service (DRaaS) ควรพิจารณาจากอะไรบ้าง เพื่อรองรับการทำธุรกิจในปัจจุบันทั้งในเรื่องงบประมาณ ความต่อเนื่องในการใช้งานและปลอดภัย อคิวท์เมชได้สรุปประเด็นเบื้องต้นที่ควรจะพิจารณามาให้แล้วค่ะ
1. การลงทุน
เนื่องจากทั้ง 2 ส่วนมีโมเดลในการลงทุนแตกต่างกัน สำหรับการลงทุนจัดทำ DR แบบซื้ออุปกรณ์เองหรือ On-premise ที่เรารู้จักกันนั้น จะต้องลงทุนสูงในช่วงแรกเพราะต้องซื้ออุปกรณ์สำหรับรองรับการสำรองข้อมูล และรองรับระบบสำรองเมื่อศูนย์คอมพิวเตอร์หลักใช้งานไม่ได้ ลงทุนสร้างห้อง อุปกรณ์เครือข่าย License และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเมื่อปีถัดไป จะเป็นการจ่ายค่า MA ซึ่งอาจจะคิดเป็นมูลค่า 25%-35% ขึ้นอยู่กับแต่ละอุปกรณ์ หรือแต่ละ Software หรือที่หลายคนคุ้นเคยกันในชื่อที่เรียกว่า CAPEX
แต่สำหรับการใช้งาน DRaaS การลงทุนจะเป็นการลงทุนในแบบ OPEX เท่ากันหรือใกล้เคียงกันในทุกปี หรือลงทุนเฉพาะที่ต้องการใช้งานเท่านั้น (Pay per use) ไม่ต้องลงทุนเผื่อการขยายตัวของการใช้งานในอนาคต เพราะเมื่อมีความต้องการใช้งานมากขึ้นก็สามารถเพิ่มเติมได้จากหน้า GUI ได้เลย
2. ความยืดหยุ่น
การจัด DR แบบซื้ออุปกรณ์เอง หรือ On-premise ในครั้งแรกอาจต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 4-8 เดือนเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้ออุปกรณ์หลากหลาย และการติดตั้งเพื่อให้พร้อมใช้งาน ทั้งยังจะต้องมีการคำนวณการใช้งานและการขยายตัวของความต้องการไว้ล่วงหน้า ค่อนข้างเผื่อความต้องการในการใช้งานไปนิดหน่อย หรือหากในกรณีที่มีการใช้งานน้อยลงก็จะไม่สามารถลดขนาด Sizing ของอุปกรณ์ลงได้ เพราะการซื้ออุปกรณ์ครั้งนึงนั้นจะต้องใช้งานประมาณ 3-5 ปี จึงทำให้ความยืนหยุ่นมีน้อย
ในทางกลับกัน หากเป็น DRaaS นั้น สามารถใช้เวลาเพียง 1 วัน ในการจัดเตรียมระบบ ตั้งค่าระบบต่าง ๆ ให้พร้อมใช้งาน และยืดหยุ่นต่อการเพิ่ม Sizing ให้รองรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นได้ในหลักนาที รวมถึงเมื่อความต้องการลดลงก็สามารถปรับ Sizing ลง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้อีกด้วย
3. มาตรฐานที่ต้องการ
การจัด DR แบบซื้ออุปกรณ์เองหรือ On-premise อุปกรณ์และการบริหารจัดการทุกอย่างจะเป็นของผู้จัดทำ ดังนั้นหากต้องการมาตรฐานใด ๆ ก็จะเป็นความรับผิดชอบขององค์กรและหน่วยงานที่จะต้องจัดทำ ตรวจสอบ ตามมาตรฐานที่ต้องการ ซึ่งอาจจะต้องลงทุนเพิ่มเติมในการจัดทำ หรือจ้างผู้ตรวจสอบจากภายนอกเข้ามาช่วยในการตรวจสอบอีกด้วย
ส่วนการใช้ DRaaS นั้น หากขององค์กรหรือหน่วยงานต้องการมาตรฐานใดเพื่อรองรับในการใช้งาน ก็สามารถเลือกผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐานการรับรองดังกล่าว และดูแลเพิ่มเติมในส่วนความรับผิดชอบขององค์กรหรือหน่วยงานซึ่งอาจจะง่ายกว่า และประหยัดงบมากขึ้นอีกด้วย
4. การบริหารจัดการ
ในด้านการบริหารจัดการอาจจะมองเห็นภาพไม่ชัดเจนมากนัก แต่ผู้เขียนขอนำเสนอในทุทของการ Monitor ระบบรวมถึงการตรวจสอบปัญหาเบื้องต้น สำหรับ DR On-premise อาจจะต้องใช้หลายฝ่ายงานในการวิเคราะห์ปัญหา ส่วนของ DRaaS อาจจะใช้เพียง Cloud Engineer 1 ท่าน ในการตรวจสอบวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นเบื้องต้นและประสานงานไปยังส่วนที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม อีกประเด็นที่น่าจะนำมาพิจารณานั่นคือการที่ DRaaS มีข้อจำกัดน้อยในการ Remote เข้าทำงาน
ปัจจัย | DR | DRaaS |
การลงทุน | CAPEX และต้องซื้อเผื่อ Growth ในอนาคต 3-5 ปี | OPEX สามารถใช้งานแบบ Pay per use และสามารถเพิ่มและลดได้ตามความต้องการของธุรกิจ |
ความยืดหยุ่นสูง | ใช้ระยะเวลาในการเตรียมพร้อมนาน และไม่สามารถขยายตัวได้ | ใช้ระยะเวลาในการเตรียมพร้อมไม่นาน และรองรับการขยายตัวหรือลดการใช้งานได้ง่าย |
มาตรฐาน | ต้องจัดทำเองตามความต้องการ | เลือกใช้บริการกับผู้ให้บริการที่มีมาตรฐานอยู่แล้ว |
การบริหารจัดการ | ใช้หลายคนในการบริการจัดการและแก้ไขปัญหาเบื้องต้น | ใช้คนน้อยกว่าในการวิเคราะห์แก้ไขปัญหาเบื้องต้น |
นอกจากปัจจัยที่ได้แชร์เบื้องต้นแล้วยังมีปัจจัยที่ละเอียดอ่อนอีกหลากหลายในการพิจารณา เช่น ความเหมาะสมของ Application, ความต้องการทางธุรกิจ, ข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแล เป็นต้น
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการใช้บริการที่ปรึกษาในการจัดทำ Disaster Recovery (DR)
ติดต่อได้ที่ บริษัท อคิวท์เมช จำกัด
คุณต้นเตย วัชราลักษณ์
081 693 5192
contact@acuitmesh.com
Comments